วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีการศึกษากับการพัฒนาครู






เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้สำหรับครู


            ความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี ในการใช้คอมพิวเตอร์ของครู มีครูที่มีความสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 31.26 ใช้ Internet ในระดับพื้นฐานคิดเป็นร้อยละ 35.09 และการบูรณาการเทคโนโลยีกับวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับพื้นฐานคิดเป็นร้อยละ 31.57 ใช้เทคโนโลยีประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 37.27 แสดงให้เห็นว่าครูยังมีความรู้ ความสารถด้านเทคโนโลยีเพียง ในระดับพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีไม่เป็น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าครูส่วนใหญ่มีอายุค่อนข้างมากแล้วและไม่มีความรู้พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีมาก่อนจึงทำให้เกิดการพัฒนาตนเองค่อนข้างช้ามาก โดยเฉพาะในเรื่องของการตั้งกลุ่มเพื่อการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเกือบจะไม่ได้ทำเลย และครูส่วนมากก็ไม่นำเทคโนโลยีไปบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ส่วนใหญ่ก็ไม่นำเทคโนโลยีมาใช้ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าครูไม่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีตลอดจนไม่สามารถติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องได้





          ครูใช้เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูจะนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวิชาคอมพิวเตอร์คิดเป็นร้อยละ 26.12 ส่วนวิชาที่รองลงมาที่ครูนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้แก่วิชาภาษาไทย คิดเป็นร้อยละ 14.61 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีโอกาสในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้ในวิชาคอมพิวเตอร์มากกว่าวิชาอื่น ๆ ส่วนในรายวิชาอื่น ๆ ก็พอได้เรียนรู้บ้างแต่ไม่มากนัก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าครูที่สอนวิชาคอมพิวเตอร์นั้นคงเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในระดับดีพร้อมที่จะดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้
สภาพการใช้คอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ของครูรายการที่ครู ใช้มากได้แก่ ใช้พัฒนาทักษะวิชาชีพครู เตรียมการสอนและสร้างสื่อการสอน ค้นสารสนเทศ ทางการศึกษา และค้นคว้าเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รายการที่ครูไม่ได้ใช้เลย ได้แก่ สอนทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับการนำเสนองาน ใช้สื่อสารระหว่างนักเรียน ครูและผู้เกี่ยวข้องและใช้ตรวจสอบผลงาน/ทำรายงานของนักเรียน แสดงให้เห็นว่าสภาพการใช้คอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ครูจะใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพครู มากกว่าการเตรียมการสอนและสร้างสื่อการสอน แสดงให้เห็นว่าครูใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาตนเอง เช่นจัดทำผลงานเพื่อเลื่อนระดับให้กับตนเองมากกว่าที่จะค้นคว้าหาความรู้เพื่อเตรียมการสอนรวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียน

การใช้ ICT ในการเรียนและบูรณาการ





         คอมพิวเตอร์ ถือเป็นสื่อนวัตกรรมใหม่อย่างหนึ่ง เพิ่งแพร่หลายขึ้นมาประมาณ 40 ปี มานี้เอง คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บ คำนวณ ประมวลผล แสดงผล หรืองานอื่นใด ตามคำสั่ง ที่จัดทำขึ้น แล้วบันทึกเก็บไว้ในหน่วยความจำของอุปกรณ์นั้น ปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์อย่างรวดเร็วมาก จนเป็นสื่อสำคัญยิ่งในการนำเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสาร ทุก ๆ วินาที สามารถรับรู้ความเป็นไปในทุกพื้นพิภพได้เกือบพร้อมกัน ทั้งที่อยู่กันคนละซีกโลก การรับรู้ข่าวสารที่รวดเร็วนำประโยชน์สู่ผู้ใช้ นำประโยชน์สู่ประเทศชาติได้อย่างมหาศาล เช่น สามารถติดต่อค้าขายกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่ต้องพบหน้ากัน ไม่มีข้อจำกัดของเวลา ไม่มีข้อจำกัดด้านพรมแดน สามารถใช้ระบบ E - Commerce และใช้ในเรื่องการศึกษา การแสวงหาความรู้ การสื่อสาร รวมถึงกิจการอื่น ๆ มากมาย หากผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์เป็นอย่างคุ้มค่า
หลายปีที่ผ่านมาโรงเรียนที่มีความพร้อมเริ่มนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงเรียนกันมากขึ้น โดยโรงเรียนดังกล่าวมักจะอยู่ในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ที่มีเศรษฐกิจดี ผู้ปกครองมีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคง ช่วงแรกเริ่มใช้เพื่อการบริหารจัดการก่อน เรียกว่า Computer Assisted Management โปรแกรมนี้ช่วยจัดการด้านงานธุรการ เงินเดือน ห้องสมุด งานปกครอง และอื่น ๆ ระยะต่อมาคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง โรงเรียนต่าง ๆ เริ่มนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเรียกว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า " CAI " หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อเสนอเนื้อหา กระตุ้นเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ต้องการเรียนรู้ บทบาทของ CAI มีมากขึ้น ผลที่ได้ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนเองต้องการ ตรงตามความประสงค์ เป็นการตอบสนองความเป็น Child Center ได้ประการหนึ่ง ในกระบวนการจัดการเรียนรู้
ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายให้โรงเรียนต่าง ๆ ใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง สภาพการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้ปกครองเกิดความตื่นตัว ต้องการที่จะให้บุตรหลานได้เรียนรู้จากคอมพิวเตอร์มากขึ้น จนกลายเป็นกระแสของความทันสมัย โรงเรียนใดไม่สอนวิชาคอมพิวเตอร์ ผู้ปกครองจะย้ายเด็กไปเรียนโรงเรียนอื่นที่สอนคอมพิวเตอร์ เป้าหมายสำคัญที่นอกเหนือไปจากภาระงานปกติของโรงเรียน คือการจัดการศึกษาให้ตอบสนองความต้องการของชุมชน ผู้บริหาร คณะครู กรรมการสถานศึกษา

การพัฒนาบุคลากร
        โรงเรียนประถมศึกษา โดยทั่วไปครูจะมีคุณวุฒิตรงสาขาวิชาเอกน้อยและยังไม่สามารถเลือกครูได้ตรงตามความต้องการของโรงเรียน จึงส่งผลถึงการจัดการเรียนการสอน หน้าที่ของโรงเรียนต้องดำเนินการ คือ พัฒนาให้ครูมีศักยภาพ สามารถทำงานสนองความต้องการของผู้เรียน และสนองตอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ การพัฒนาครู เป็นสิ่งจำเป็นโดยอาจดำเนินการพัฒนาครูได้ ดังนี้
1. พัฒนาให้ครูทุกคนมีความรู้พื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นฐานในการเรียนรู้ และใช้คอมพิวเตอร์จัดการเรียนการสอนได้
2. กำหนดมาตรฐานเบื้องต้นของครูที่จะเข้าทำหน้าที่ครูคอมพิวเตอร์ ไว้ดังนี้
2.1 ต้องมีวิสัยทัศน์ มีความคิดกว้างไกล ทันเหตุการณ์ของโลก
2.2 พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ให้รอบรู้และรู้รอบ ในเรื่องใหม่ ๆ อยู่เป็นนิจ
2.3 ขยัน ทันสมัย ใจรัก สละเวลา
คนที่มีใจรักในสิ่งใด มักจะทุ่มเท เสียสละ ขยัน มุ่งมั่นทำในสิ่งที่ตนรัก งานคอมพิวเตอร์ เป็นงานที่หนัก และมีความสำคัญสูง ด้วยครูมีภาระหลากหลาย ด้วยเหตุที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ส่วนอื่น ๆ เป็นฝ่ายบริการอำนวยความสะดวกได้ หลังจากที่โรงเรียนให้ความรู้ ฝึก และพัฒนาครูให้มีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์แล้ว

รูปแบบการใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้







         ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการแข่งขันการพัฒนาทางด้านซอฟต์แวร์ ในปัจจุบัน ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการศึกษากันมาก การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction) มีบทบาทและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการพัฒนาผู้เรียนอีกทางหนึ่ง โดยอาศัยประสบการณ์ ความรู้ ปรับประยุกต์ใช้ภายใต้บริบทของโรงเรียน
1. จัดการเรียนรู้ "ตลอดเวลา" (Anytime) เวลาใดก็สามารถเรียนรู้ได้ ระยะแรกเริ่มให้นักเรียนสามารถใช้ Computer สืบค้นหาความรู้จากห้องสมุด ซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการระบบ Internet
2. เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ "ทุกหนแห่ง" (Anywhere) นักเรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันจากสื่อต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ โทรทัศน์ CAI และอื่นๆ
3. การให้ทุกคน (Anyone) ได้เรียนรู้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพของตน ตั้งแต่ระดับอนุบาลเป็นต้นไป


การใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้


          การเรียนรู้ในปัจจุบันแตกต่างจากเดิมไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหมายความว่า ผู้เรียนมีโอกาส มีอิสระในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สร้างองค์ความรู้ สร้างทักษะด้วยตนเอง ครูเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนมาเป็น ผู้ให้คำแนะนำ นอกจากนี้ทั้งครูและศิษย์สามารถเรียนรู้ไปพร้อมกันได้ การจัดการเรียนที่โรงเรียนดำเนินการได้ในขณะนี้
1. การสอนโดยใช้สื่อ CAI ช่วยสอนให้เกิดการเรียนรู้ตามความสนใจ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม หรือ สปช. วิชาภาษาอังกฤษ
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักสืบค้นวิทยาการใหม่ ๆ จากอินเทอร์เน็ต จาก E-book จาก E-Library
3. ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนและการค้นคว้าหาความรู้ โดยกำหนดให้ผู้เรียนได้เล่นเกมการศึกษา (Education Games ) ที่ผ่านการวิเคราะห์ของครูผู้รับผิดชอบว่าไม่เป็นพิษภัยต่อผู้เล่น และเป็นการสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่ดีให้กับเด็ก
4. ใช้แผนการสอนแบบ ICT บูรณาการเรียนรู้ในสาระวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และ คอมพิวเตอร์
5. จัดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนรู้
6. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดระบบและเผยแพร่ความรู้
7. จัดระบบข้อมูลสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน และภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น
8. พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน


         การนำเอาเทคโนโลยี เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน เป็นการเพิ่มพูน ประสิทธิภาพทางการเรียนรู้แก่ผู้เรียน และในสภาพปัจจุบันการเรียนการสอนก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงสิ่งนี้ได้ ครูจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของตนเอง ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น จึงต้องเรียนรู้เทคโนโลยีต่าง ๆ แล้ววิเคราะห์ความเป็นไปได้ ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ให้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน ที่มีความพร้อมในระดับหนึ่ง ครูควรต้องพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม และยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อนำพาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ ดำรงตนอยู่ได้อย่างมีความสุข

ประโยชน์ของ webblogกันการเรียนการสอน



               
             1.ผู้เรียนสามารถใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้ บันทึกเรื่องราว ข่าวสาร ความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งที่สนใจ เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในสมองลงสู่ตัวหนังสือ การเขียนมีอิสระทางความคิดในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเอง  ถ้าผู้เรียนมีการเขียน blog อยู่เป็นประจำก็จะสามารถนำมาสู่การสร้างขุมความรู้  ( Knowledge  Assets ) ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ผู้เรียนสามารถเก็บรวบรวมและแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและ รวดเร็ว



             2. เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้ ให้กับผู้เรียน โดยหลักการของ blog คือการเผยแพร่เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนไว้บน blog เพื่อแสดงตัวตนของผู้เขียนออกสู่สาธารณชนซึ่งนั่นหมายถึง blog ย่อมมีความสามารถในการสนับสนุนการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทันทีที่ผู้เขียนมีการเพิ่มเติมหรือแก้ไขความรู้ที่มีอยู่บน blog ไฟล์ RSS ก็จะทำการดึงเอาเนื้อหานั้น ๆ มาใส่ไว้ในไฟล์ด้วยทันที




                3. เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ของผู้เรียน การเขียน blog จะอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นต่อความรู้ที่ผู้เรียนเขียนถ่ายทอดลงไปใน blog และผู้เรียนได้เขียนโต้ตอบต่อความคิดเห็นนั้น ๆ ในลักษณะของการสนทนาเพื่อหาความแตกฉานในตัวความรู้ ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันสกัดความรู้ฝังลึกได้อย่างดี 




            4. เป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ ของผู้เรียน ผู้ชำนาญการ และชุมชนปฏิบัติ การเขียนและอ่าน blog เป็นวิธีการค้นหาความรู้ ช่วยให้ค้นพบผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะโดยการเขียน blog ที่มักอ้างถึง blog อื่น ๆ โดยการโยงลิงค์ไปหาบทความหรือบันทึกนั้น ๆ อีกทั้งลิงค์ที่ผู้เรียนบรรจุไว้ใน blog ซึ่งอยู่นอกตัวบทความ หรือการร่วมเป็นสมาชิกของ blog ในกลุ่มที่เรียน




                5. เป็นเครื่องมือในการรวบรวมและแยกแยะประเภทของความรู้ สกัดแก่นความรู้ และสร้างความสัมพันธ์ของความรู้ การให้ผู้เรียนระบุหมวดหมู่หรือคีย์เวิร์ดของบันทึกนั้น ๆ ไว้ ซึ่งบันทึกหนึ่ง ๆ อาจมีความเหมาะสมในการแยกหลายหมวดหมู่ ถือเป็นการสกัดแก่นความรู้จากขุมความรู้ โดยที่ตัวผู้เรียนเอง อาจจะดึงเอาคีย์เวิร์ดของชุมชนที่ถูกรวบรวมผู้ใช้หลายคน




                6. เป็นเครื่องมือในการสร้างลำดับความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของความรู้ ของผู้เรียนโดยมีผู้นำเอาความรู้นั้นไปใช้ ให้เกิดผลและนำผลมาปรับปรุงความรู้เดิมให้เกิดความรู้ตัวใหม่ หรือทำให้ความรู้นั้น ๆ มีความถูกต้องมีหลักฐานที่วัดได้ทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ระบบมีการจัดลำดับความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้หนึ่ง ๆ ได้โดยตรงจากผู้อ่าน blog  ซึ่งอาจจะเป็น ผู้ที่ได้นำเอาความรู้นั้นๆ ไปใช้เองอีกด้วย หรือการแสดงสถิติต่างๆของ blog เช่น บันทึกที่ได้รับการแสดงข้อคิด เห็นมากที่สุด หรือ บันทึกที่มีผู้อ่านมากที่สุด ก็สามารถเป็นเครื่องมือพิสูจน์ความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้ของผู้เรียนได้ในระดับหนึ่ง




                7. ได้ฝึกประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีความคล่องตัวในการใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้น     

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

          
            สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็นสถานที่แห่งการเรียนรู้แห่งหนึ่งที่มีความสวยงามและดิฉันได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชม ในการเข้าชมนั้นจะมีวิทยากรคอยให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์ทะเลตลอดเวลา  ทำให้ดิฉันและเพื่อนๆได้ทั้งความรู้และสนุกสนานที่ได้เห็นความสวยงามของสัตว์ใต้ท้องทะเล







     
       สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ดิฉันได้ชมส่วนแรกคือสัตว์ทะเลต่างๆที่แบ่งออกเป็นหมวดหมู่และเห็นถึงการดำรงชีวิตของแต่ละตัว
       ส่วนที่สองเป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ตั้งอยู่บริเวณชั้น 2 ของ อาคารสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นส่วนที่จัดแสดงให้ในรูปแบบของนิทรรศการ ดังนั้นทรัพยากรที่ใช้ในการจัดแสดงจะเป็นรูปแบบนิทรรศการที่ประกอบด้วยแผ่นข้อมูล ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในทะเลที่ทำการเก็บรักษาด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ตัวอย่างที่ดองด้วยน้ำยาฟอร์มาลิน ตัวอย่างแห้ง ตัวอย่างสัตว์สตั๊ฟ เป็นต้น โดยการจัดแสดงแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่
    - ส่วนแรก จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เกี่ยวกับพระราชกรณีกิจทางด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านวิทยาศาสตร์การประมง
   - ส่วนที่สอง จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของทะเล ระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล รวมทั้งความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ ดังมีรายละเอียดดังนี้
1. นิทรรศการเรื่องราวของอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตใน โดยให้ความรู้ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆที่อาศัยอยู่ในทะเล คือ แพลงก์ตอนซึ่งมีบทบาทสำคัญของห่วงโซ่อาหารในทะเล สาหร่าย และหญ้าทะเล ฟองน้ำ สัตว์ที่มีโพรงลำตัว เช่น ปะการัง ดอกไม้ทะเล แมงกะพรุน เป็นต้น สัตว์จำพวกหนอนทะเล เช่น หนอนตัวแบนหนอนปล้อง หนอนริบบิ้น เป็นต้น สัตว์จำพวกหอย เช่น หอยฝาเดียว หอยฝาคู่ หมึก และหอยงวงช้าง เป็นต้น สัตว์ที่มีข้อปล้องในทะเล เช่น ปู กุ้ง กั้ง และแมงดาทะเล เป็นต้น สัตว์จำพวกคอร์เดทในทะเล เช่น เพรียงหัวหอม แอมฟิออกซัส และสัตว์ทะเลที่มีกระดูกสันหลัง ชนิดต่างๆ ได้แก่ ปลาทะเล โลมา พะยูน เต่าทะเล และจระเข้น้ำเค็ม รวมทั้งเรื่องราวของทะเล และสิ่งมีชีวิตในทะเลยุคดึกดำบรรพ์ เป็นต้น



2. นิทรรศการเรื่องราวของทะเล และระบบนิเวศในทะเล ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการแบ่งเขตของทะเล และระบบนิเวศต่างๆในทะเล รวมทั้งพืช และสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในแต่ละระบบนิเวศ โดยเริ่มตั้งแต่ ระบบนิเวศของป่าชายเลน ระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทราย และหาดโคลน ระบบนิเวศแนวปะการัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ เช่น เป็นแหล่งทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล เช่น โป๊ะ และเรือประมงทะเลชนิดต่างๆ เป็นเส้นทางค้าขาย และเดินทางติดต่อกันของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งต้องพบกับอุปสรรคนานาประการจากคลื่น ลม และพายุ จนทำให้เรืออัปปางกิดเป็นเรื่องราวของการขุดค้น และศึกษาโบราณคดีใต้น้ำเป็นต้น




3. นิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อ เป็นส่วนที่จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ เช่น เป็นแหล่งทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล เช่น โป๊ะ และเรือประมงทะเลชนิดต่างๆ เป็นเส้นทางค้าขาย และเดินทางติดต่อกันของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งต้องพบกับอุปสรรคนานาประการจากคลื่น ลม และพายุ จนทำให้เรืออับปางเกิดเป็นเรื่องราวของการขุดค้น และศึกษาโบราณคดีใต้น้ำเป็นต้น 


4. ห้องพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย และวิวัฒนาการของหอย ในห้องนี้จะจัดแสดงเกี่ยวกับเปลือกหอยที่พบในทะเลกลุ่มต่างๆ ได้แก่ ลิ่นทะเล หอยฝาเดียว หอยฝาคู่ หอยงวงช้าง และหอยงาช้าง เป็นต้น รวมทั้งนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับหอยแต่ละกลุ่ม วิวัฒนาการของหอยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และการแบ่งกลุ่มของหอยที่มีอยู่ในโลก







           ซึ่งในการเที่ยวชมครั้งนี้ อ.อุทิศ บำรุงชีพ ได้อธิบายถึงหลักและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับใช้สื่อการสอนที่แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้ของ Edgar Daleว่ามีอะไรบ้างและแต่ละอย่างมีลักษณะอย่างไร